ทุเรียราชาแห่งผลไม้
ในบรรดาผลไม้ทั้งมวลของประเทศไทย ผลไม้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นที่สุด เป็นราชาของผลไม้ ก็คือ “ทุเรียน” ด้วยทั้งลักษณะที่มีความต่างจากผลไม้อื่น รูปทรงภายนอกของผล เป็นหนามแหลมคม ต่างจากผลไม้อื่นอย่างสิ้นเชิง เนื้อในที่มีรสชาติที่แสนอร่อยที่ยากจะหาผลไม้อื่นมาเทียบได้
ทุเรียนเป็นผลไม้ยอดนิยม
หลายต่อหลายคนตั้งตารอ เพราะทุเรียนออกลูกออกผลที่จะสามารถหามารับประทานได้จะมีแค่ฤดูกาลเดียวเท่านั้น หลายคนที่ลิ้มลองแล้วยากที่จะลืมเลือน ทั้งกลิ่นที่หอมเย้ายวน(สำหรับผู้ชื่นชอบ) และรสชาติที่หวาน มัน มีความอร่อยที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร
ทุเรียนมีลักษณะที่ต่างจากผลไม้อื่น
“ทุเรียน” (Durian) ผลไม้ที่มีเปลือกหนา ผิวภายนอกเป็นหนามหุ้มทั้งผล มีหลายสายพันธ์ รูปร่างของผลอาจมีความแตกต่างกันบ้าง แต่โดยรวมจะคล้ายกัน มีเนื้อสีเหลืองทองกับรสชาติเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกับผลไม้ใดๆ ในโลก มีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ บางคนก็ว่าเหม็น บางคนก็ว่าหอม
ทุเรียนมีประโยชน์ต่อสุขภาพ
ในช่วงฤดูกาลของทุเรียนนี้ ราชาผลไม้เนื้อแน่นรสหวานมันก็จะมีราคาสูงขึ้นไปตามพันธุ์ และขนาด เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า “ทุเรียน” หากกินในปริมาณที่มากเกินไปก็จะให้โทษแก่ร่างกายได้ เพราะเป็นผลไม้ที่มีไขมันสูง น้ำตาลสูง และทำให้ตัวร้อน แต่จริงๆ แล้วทุเรียนมีประโยชน์ต่อสุขภาพไม่แพ้ผลไม้ชนิดอื่น ๆ อย่างที่หลายคนอาจไม่เคยรู้
ทุเรียนมีมากกว่า 600 สายพันธ์
เมื่อพูดถึงพันธุ์ทุเรียนไทยจะมีชื่อคุ้นหูมาไม่กี่พันธุ์ เช่น ทุเรียนหมอนทอง, ทุเรียนชะนี, ทุเรียนป่าละอู แต่ทราบหรือไม่ว่ามีทุเรียนไทยกว่า 600 สายพันธุ์ และพันธุ์ทุเรียนไทยเป็นที่นิยมกันมาแล้วกว่า 600 ปี มีบันทึกไว้ว่ากลิ่นของมันรัญจวนใจ จนชาวต่างชาติเคยนำไปลองปลูกที่ประเทศของตัวเองกันเลยทีเดียว
พันธุ์ทุเรียนยอดนิยม
ดังที่กล่าว ประเทศไทยมีพันธุ์ทุเรียนมากกว่า 600 สายพันธุ์ พันธุ์ที่ปลูกกันมาก เพราะความนิยมของผู้บริโภค ชอบในรสชาติ เนื้อที่สุกงอม หอม อร่อย โดนใจ มีดังนี้
- พันธุ์หมอนทอง ทุเรียนหมอนทองเป็นอีกทุเรียนหนึ่งที่มีความนิยมสูง เนื่องจากราคาดี ปลูกง่ายในทุกภาค เมื่อสุกแล้วเก็บได้นาน นำไปแปรรูปได้หลายแบบ
- พันธุ์ก้านยาว ก้านยาวเป็นพันธุ์ทุเรียนที่นิยมกันมากพันธุ์หนึ่ง เนื่องจากกลิ่นไม่ฉุนมาก เนื้อละเอียด หอมอร่อย ผู้ปลูกจะชอบเพราะติดผลได้ดี
- พันธุ์ชะนี คนรักทุเรียนกลุ่มหนึ่งนิยมทุเรียนชะนี เพราะเมื่อสุกแล้วเนื้อสุกสม่ำเสมอทั้งลูก และมีเนื้อที่เหนียวกว่าพันธุ์อื่น
- พันธุ์ป่าละอู ราคาปานกลาง ไปจนถึงสูง ขึ้นอยู่กับลักษณะเนื้อที่ออกมาในปีนั้น ทุเรียนป่าละอูมีความนิยมมากเนื่องจากเป็นพันธุ์ผสมระหว่างหมอนทองและชะนี ให้เนื้อทั้งสองแบบ และแตกต่างกันตามสถานที่ปลูก
จังหวัดที่ปลูกทุเรียน ที่มีผู้ชื่นชอบและนิยมมากอันดับต้นๆ
- ทุเรียนจากจังหวัดจันทรบุรี
- ทุเรียนจากจังหวัดระยอง
- ที่เรียนจากจังหวัดนนทบุรี
สามจังหวัดนี้เป็นจังหวัดที่เกษตรกรนิยมนำพันธุ์ทุเรียนไปปลูกแล้วขึ้นดึ จนกลายเป็นลักษณะเฉพาะ ที่มีความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นรสชาต ค่านิยม และ ราคา เช่นทุเรียนจากจังหวัดนนทบุรีเอกลักษณะเฉพาะ คื่อมีรสชาติที่หลายคนบอกว่าแตกต่างจากทุเรียนจังหวัดอื่นจึงทำให้ราคาของทุเรียนของจังหวัดนนทบุรี สูงกว่าทุเรียนจังหวัดอืน
พันธุ์ทุเรียนไทยมีอะไรบ้าง
เมื่อพิจารณาจากทรงผลทุเรียน จะแบ่งออกตามลักษณะของผล ดังนี้
ทุเรียนกลุ่มกบ
จำแนกจากใบที่มีขอบขนาด การออกผลแบบกลมรี กลม และกลมแป้น รวมถึงลักษณะของหนามแบบโค้งงอ สวนต่างๆ นำไปเพาะพันธุ์จนตั้งชื่อตามผู้ปลูกก็มี ทุเรียนกลุ่มกบ ได้แก่
- 1.กบแม่เฒ่า
- 2.กบเล็บเหยี่ยว
- 3.กบตาขำ
- 4.กบพิกุล
- 5.กบวัดกล้วย
- 6.กบชายน้ำ
- 7.กบสาวน้อย (กบก้านสั้น)
- 8.กบสุวรรณ
- 9.กบเจ้าคุณ
- 10.กบตาท้วม (กบดำ)
- 11.กบตาปุ่น
- 12.กบหน้าศาล
- 13.กบจำปา (กบแข้งสิงห์)
- 14.กบเบา
- 15.กบรัศมี
- 16.กบตาโห้
- 17.กบตาแจ่ม
- 18.กบทองคำ
- 19.กบสีนาค
- 20.กบทองก้อน
- 21.กบไว
- 22.กบงู
- 23.กบตาเฒ่า
- 24.กบชมพู
- 26.กบพลเทพ
- 26.กบพวง
- 27.กบวัดเพลง
- 28.กบก้านเหลือง
- 29.กบตานวล
- 30กบตามาก
- 31.กบทองเพ็ง
- 32.กบราชเนตร
- 33.กบแก้ว
- 34.กบตานุช
- 35.กบตามิตร
- 36.กลีบสมุทร
- 37.กบตาแม้น
- 38.กบการะเกด
- 39.กบซ่อนกลิ่น
- 40.กบตาเป็น
- 41.กบทองดี
- 42.กบธีระ
- 43.กบมังกร
- 44.กบลำเจียก
- 45.กบหลังวิหาร
- 46.กบหัวล้าน
ทุเรียนกลุ่มลวง
จำแนกตามใบลักษณะป้อม ฐานใบแหลมมน ให้ผล 2 แบบ คือ ทรงกระบอก และรูปรี หนามมีลักษณะเว้า ทุเรียนกลุ่มลวงที่นิยมคือ ทุเรียนชะนี และชะนีก้านยาว ทุเรียนกลุ่มลวง ได้แก่
- 1.ลวง
- 2.ลวงทอง
- 3.ลวงมะรุม
- 4.ชะนี
- 5.ชะนีกิ่งม้วน
- 6.ชมพูศรี
- 7.ย่ำมะหวาด
- 8.สายหยุด
- 9.ชะนีก้านยาว
- 10.ชะนีน้ำตาลทราย
- 11.มดแดง และ
- 12.สีเทา
ทุเรียนกลุ่มก้านยาว
จำแนกจากใบป้อมปลายใบ และปลายใบเรียวแหลม ให้ผลเป็นรูปไข่กลับ และกลมรี หนามลักษณะนูน มีความหลายหลายทางสายพันธุ์น้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ ทุเรียนกลุ่มก้านยาว ได้แก่
- 1.ก้านยาว
- 2.ก้านยาววัดสัก (เหลืองประเสริฐ)
- 3.ก้านยาวสีนาค
- 4.ก้านยาวพวง
- 5.ก้านยาวใบด่าง
- 6.ทองสุก
- 7.ชมภูบาน
- 8.ต้นใหญ่
ทุเรียนกลุ่มกำปั่น
จำแนกจากปลายใบยาวเรียวและปลายใบเรียวแหลม ฐานใบแหลม ผลเป็นทรงขอบขนาด หนามตรง พันธุ์ทุเรียนกลุ่มกำปั่นที่รู้จักกันดีคือ ทุเรียนหมอนทอง ทุเรียนกลุ่มกำปั่นทั้งหมด ได้แก่
- 1.กำปั่นเดิม (กำปั่นขาว)
- 2.กำปั่นเหลือง (เจ้ากรม)
- 3.กำปั่นแดง
- 4.กำปั่นตาแพ
- 5.กำปั่นพวง
- 6.ชายมะไฟ
- 7.ปิ่นทอง
- 8.เม็ดในกำปั่น
- 9.เห-รา
- 10.หมอนเดิม
- 11.หมอนทอง
- 12.กำปั่นบางสีทอง
- 13.ลุงเกตุ
ทุเรียนกลุ่มทองย้อย
จำแนกจากปลายใบเรียวแหลม ฐานใบมนหรือรูปไข่ ผลเป็นรูปไข่ และหนามนูนแหลม
ทุเรียนกลุ่มเบ็ดเตล็ด จำแนกจากใบ ผล และหนาม ที่แตกต่างกันจาก 5 กลุ่มแรก คาดว่าเกิดจากการพัฒนาสายพันธุ์ของสวนต่างๆ พบมากกว่า 80 ชนิด ได้แก่
- 1.กะเทยเนื้อขาว
- 2.กะเทยเนื้อแดง
- 3.กะเทยเนื้อเหลือง
- 4.กระดุมทอง
- 5.กระดุมสีนาค
- 6.กระโปรงทอง
- 7.กระปุกทอง (กระปุกทองดี)
- 8.ก้อนทอง
- 9.เขียวตำลึง
- 10.ขุนทอง
- 11.จอกลอย
- 12.ชายมังคุด
- 13.แดงช่างเขียน
- 14.แดงตาน้อย
- 15.แดงตาเผื่อน
- 16.แดงสาวน้อย
- 17.ดาวกระจาย
- 18.ตะพาบน้ำ
- 19.ตะโก (ทองแดง)
- 20.ตุ้มทอง
- 21.ทศพิณ
- 22.ทองคำตาพรวด
- 23.ทองม้วน
- 24.ทองคำ
- 25.นกกระจิบ
- 26.บาตรทองคำ (อีบาตร)
- 27.บางขุนนนท์
- 28.เป็ดถบ
- 29.ฝอยทอง
- 30พวงมาลัย
- 31.พวงมณี
- 32.เม็ดในยายปราง
- 33.เม็ดในบางขุนนนท์
- 34.ยินดี
- 35.ลำเจียก
- 36.สีทอง
- 37.สีไพร
- 38.สาวชมเห็ด
- 39.สาวชมฟักทอง (ฟักทอง)
- 40.หางสิงห์
- 41.เหรียญทอง
- 42.ไอ้เข้
- 43.อินทรชิต
- 44.อีล่า
- 45.อีลีบ
- 46.อียักษ์
- 47.อีหนัก
- 48.ตอสามเส้า
- 49.ทองนพคุณ
- 50.ทองหยอด
- 51.ทองหยิบ
- 52.นมสด
- 53.เนื้อหนา
- 54.โบราณ
- 55.ฟักข้าว
- 56.พื้นเมืองเกาะช้าง
- 57.มะนาว
- 58.เม็ดในกระดุม
- 59.เม็ดในก้านยาว
- 60.เม็ดในลวง
- 61.เมล็ดพงษ์พันธุ์
- 62.เมล็ดเผียน
- 63.เมล็ดลับแล
- 64.เมล็ดสม
- 65.เมล็ดอารีย์
- 66.ย่ามแม่วาด
- 67.ลวงเพาะเมล็ด
- 68.ลุงไหล
- 69.ลูกหนัก
- 70.สาเก
- 71.สาวใหญ่
- 72.หมอนข้าง
- 73.หมอนละอองฟ้า
- 74.หลงลับแล
- 75.ห้าลูกไม่ถึงผัว
- 76.เหมราช
- 77.เหลืองทอง
- 78.อีงอน
- 79.ไอ้เม่น
- 80.ไอ้ใหม่ และ
- 81.กะเทยขั้วสั้น