การรดน้ำทุเรียน
การให้น้ำของสวนทุเรียน บางขุนกอง
น้ำ คือหัวใจสำคัญของการเจริญเติบโตของพืชทุกชนิด การให้น้ำอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ เพื่อการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ให้ได้รับความสมบูรณ์ตามที่พืชต้องการ การให้น้ำในปริมาณที่เหมาะสม จะส่งผลทำให้พืชได้รับประโยชน์สูงสุด การให้มากเกินไปอาจส่งผลเสียทำให้เกิดโรคได้ เช่น รากเน่า โคนเน่า โรคราในดิน หรือชื้นจนแฉะจนทำให้รากทุเรียนขาดอากาศได้
1-3 เดือน
รดทุกวัน ตามปริมาณที่ทุเรียนต้องการ
3-4 เดือน
รดวันเว้นวัน ควบคู่กับสภาพอากาศ
5 เดือนขึ้นไป
2 วันรด 1 ครั้ง ตามความเหมาะสม
ความชื้นในดิน นำมาซึ่งโรคต่างๆ
ดินในสวนทุเรียน เมื่อมีความชื้นในดินสูงเกิน 80% โดยเฉพาะรากของทุเรียนที่มีความลึกประมาณ 30 – 50 เซนติเมตร จะมีความเสี่ยงต่อปัญหาโรครากเน่าโคนเน่า นอกจากนี้ความชื้นในดินยังทำให้เกิดโรคจุดสนิมที่เกิดจากสาหร่ายสีเขียว เจาะเข้าทําลายใบและกิ่งของทุเรียน เนื่องจากสาหร่ายสีเขียวเติบโตได้ดีหากดินมีความชื้นสูงเกินไป
เครื่องวัดความชื้นในดิน (Soil Tensiometer)
สำหรับความถูกต้องในการให้น้ำทุเรียน
ดูความชื้นในดินใต้ต้นทุเรียน
การทดสอบ โดยการขุดดินใต้ต้นทุเรียน เพื่อดูความชื้น
ดินใต้โคนต้น 50 ซม.
สภาพดินใต้โคนต้นของทุเรียนอายุ 10 เตือน ดินระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ขัง จะเห็นแนวรากทุเรียนตามลูกศรสีแดง
ความชื้นในดินมีความสำคัญมากต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งการควบคุมความชื้นของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชในแต่ละชนิด สามารถทำได้ด้วยการใช้เครื่องมือวัดความชื้น Soil Tensiometer เข้ามาช่วยตรวจวัด หากความชื้นในดินต่ำ สามารถเปิด/เพิ่มการให้น้ำ เพื่อเพิ่มความชื้นให้กับดิน และหากความชื้นในดินสูง สามารถปิด/ลดการให้น้ำ หรือเปิดแสลนพรางแสงเพื่อให้แดดเข้าถึง
ปัจจัยสำคัญ ของการรดน้ำ
ปัจจัยของการให้น้ำทุเรียน สภาพแวดล้อมไม่ว่าจะเป็น ดิน น้ำ อากาศ จะมีผล มีความแตกต่างสำหรับความต้องการน้ำของทุเรียน
-
- น้ำ
- ดิน
- อากาศ
น้ำ
สวนทุเรียนบางขุนกอง มีพื้นที่ติดคลอง แต่ไม่สามารถนำน้ำจากคลองมาใช้รดทุเรียนได้ ด้วยสภาพน้ำไม่สะอาดเพียงพอ มีหมู่บ้านล้อมรอบ มีการระบายน้ำลงคลอง น้ำไม่สะอาด ประกอบกับน้ำจากคลองของพื้นที่ มีความเค็ม เรื่องของน้ำจึงไม่เหมาะสม ไม่สามารถใช้รดทุเรียนได้ จำเป็นต้องใช้น้ำประปา โดยทำที่เก็บสำรองไว้ในถังพัก รดน้ำโดยผ่านระบบสปิงเกอร์ตามเวลาที่กำหนด
ให้น้ำแบบประหยัด
ด้วยเป็นน้ำประปา ทำให้มีต้นทุนที่มากขึ้น จึงใช้วิธีรดน้ำแบบประหยัด ด้วยการทำหัวปริงเกอร์แบบประหยัดน้ำ โดยการใช้ท่อ พีวีซี ดัดโค้งรอบโคนต้น เจาะรูกำหนดทิศทางน้ำ ให้น้ำออกตามตำแหน่งที่ต้องการ เป็นการให้น้ำเฉพาะโคนต้นและบริณรากเท่าน้ำ ไม่ให้น้ำมากเกินกว่าความต้องการของต้นพืช
ทุเรียนเล็ก
รดเท่าที่ทุเรียนต้องการ รดเฉพาะโคนต้น จำกัดบริเวณ
หัวปริงเกอร์ทำเอง
หัวสปริงเกอร์แบบวงกลม ใช้ท่อ PVC ดัดโด้งและเจาะรู
ดิน
ดิน คือปัจจัยที่ 2 ที่สำคัญสำหรับการรดน้ำทุเรียน ดินแต่ละที่ไม่เหมือนกัน บางที่เป็นดินเหนียว บางที่เป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือบางที่เป็นที่ลูกรังที่มีก้อนกรวดผสมอยู่ การอุ้มน้ำ ระบายน้ำจะไม่เท่ากัน ทำให้ความต้องการน้ำแตกต่างกันไปด้วย
ดินที่สวนบางขุนกอง เป็นดินเหนียว เมื่อดินแห้งจะแข็งมาก ก่อนปลูกหลักจากปรับสภาพดินรอบๆโคนต้นแล้ว ทำให้ดินลดความเหนียวลงในระดับหนึ่ง การระบายน้ำดีขึ้น น้ำซึมผ่านชั้นดินได้ง่าย สังเกตจากเวลารดน้ำ น้ำจะหายไปทันที แต่สิ่งที่ได้คือ น้ำระเหยเร็ว ดินแห้งเร็วขึ้น การรดน้ำ ต้องรดอย่างสม่ำเสมอ ไม่ให้หน้าดินแห้งเป็นเวลานาน
ความเหมาะสมในการรดน้ำ ต้องตรวจดูหน้าดินรอบโคนต้น ถ้าพบว่าดินแห้ง ก็ควรรดน้ำตามขนาดและปริมาณ ตามความต้องการของทุเรียน สวนบางขุนกองรดช่วงเช้า เวลาประมาณ 9.00 น. ด้วยการให้พืชได้เข้ากระบวนการดูดน้ำ นำไปเลี้ยงลำต้น กิ่ง ก้านใบ และการสั่งเคาะห์แสง ตามการเจริญเติมโตของพืชทุเรียน ที่ต้องมีขั้นตอนการขับเคลื่อนตามระยะเวลา
อากาศ
อากาศ เป็นปัจจัยหนึ่งของการให้น้ำพืชทุเรียน อากาศร้อน ร้อนชื้น หนาว ความต้องการน้ำก็แตกต่างกัน หน้าฝนมีฝนตกก็ไม่จำเป็นต้องให้น้ำบ่อย ที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ในหน้าร้อนนอกจากความร้อน การในน้ำทุเรียน ก็ต้องให้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ ไม่มากและน้อยเกินไป ให้ดูความชื้นที่ดินเป็นหลัก ถ้าอากาศร้อน แห้งมาก อาจให้น้ำมากกว่าปกติ หรือให้น้ำรอบๆบริเวณโคนต้นเพื่อให้อุณภูมิลดลง
ให้น้ำเท่าที่ทุเรียนต้องการ
ให้แบบประหยัด รอบๆโคนต้นตามบริเวณรากใปถึง
ใบได้รับความชุ่มชื้น
การน้ำพุ่งขึ้นด้านบน ทำให้ใบทุเรียนได้รับความชุ่มชื้น