ทุเรียนนนท์ พันธ์หมอนทอง
ลักษณะของทุเรียนพันธุ์หมอนทอง
- กิ่ง เป็นทรงพุ่ม
- ใบ บาง ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบแหลม
- ดอก
- ผล ทรงผลค่อนข้างยาวมีบ่าผลหญ่ หนักประมาณ 3-4 กก. ปลายผลแหลม พูมักไม่ค่อยเต็มทุกพู ฐานหนามเป็นเหลี่ยม แหลมสูง มีหนามเล็กแซมอยู่ทั่วไป เรียกเขี้ยวงู ก้านผลใหญ่แข็งแรง กลางก้านปลิงอ้วน ทรงกระบอก
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 120 วัน
- เนื้อ มีเนื้อหนา เหลืองอ่อนละเอียด เนื้อแห้งไม่แฉะติดมือ เมล็ดเล็กและ ลีบเป็นส่วนใหญ่
- กลิ่น ไม่แรง
- รสชาด หวานมัน
ต้นที่ 1 ทุเรียนหมอนทอง
ต้นแรกของสวนทุเรียนนนท์ บางขุนกอง ทุเรียนนนท์ พันธ์หมอนทอง ทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองนนทบุรี ต้นพันธ์จากสวนตาก้าน บางกร่าง แบบกิ่งกระโดง ความสูงก่อนปลูก 70 ซม. เริมปลูกวันที่ 31 กันยายน 2563 ปลูกแบบยกโคก
อายุ 1 เดือน 10 วัน
หลังปลูก 1 เดือน มีการเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย
1 เดือน 24 วัน
จากใบเขียวตอง ใบเริ่มเขียวกว่าตอนแรกปลูกบ้าง
1 เดือน 24 วัน
ใบเริ่มกางมากขึ้น ดูมีความแข็งแรงขึ้น
ประมาณ 2 เดือน
ปลายยอดเริ่มมีการแทงยอด
แตกยอด
การแทงยอดทั่วปลายกิ่ง ใบเขียวขึ้นกว่าเดิม
2 เดือน 9 วัน
ใบอ่อนกำลังขยาย ใบใหญ่ขึ้นตามลำดับ
3 เดือน 4 วัน
ใบใหญ่ เขียว สมบูรณ์ขึ้น เริ่มแตกใบอ่อนอีกรอบ
3 เดือน 4 วัน
ลำต้นแข็งแรงขึ้น จึงนำไม้ค้ำออก เพื่อไม่ให้รบกวนการแตกกิ่ง
3 เดือน 4 วัน
กิ่งยาวและใบขยายใหญ่ แผ่กิ่งและใบกว้างขึ้น
3 เดือน 9 วัน
ดูจากยอด ชูชัน สูงเริ่มตั้งลำดีขึ้น
3 เดือน 12 วัน
จำนวยใบเพิ่มขึ้น ใหญ่ เขียว และแข็งแรงดำลำดับ
3 เดือน 17 วัน
บรรยากาศยามเช้าของวันที่ 17 ธันวาคม 63 กิ่งใบมองสดใส
4 เดือน 14 วัน
พัฒนาการตามดี ปลายยอดเริ่มแตกอีกรอบ
4 เดือน 14 วัน
โครงสร้างกิ่ง ก้าน ใบ ได้รูปทรงสวยงาม
4 เดือน 16 วัน
จากด้านบน จำนวนใบเริ่มหนาแน่นขึ้น
6 เดือน 19 วัน
ผ่านไป 6 เดือน ใบหนาแน่น แทงยอดเป็นระยะ โครงสร้างสมบูรณ์
6 เดือน 19 วัน
แข็งแรงสมบูรณ์ พัฒนากการดี ไม่มีโรคและแมลงรบกวน
6 เดือน 19 วัน
แตกใบอ่อนตามระยะ พัฒนาการได้ดี ใบเขียว สมบูรณ์ สีใบเขียวเข้ม
10 เดือน 14 วัน
โตขึ้น ระบบรากเริ่มขยายวงกว้าง การให้น้ำรูปแบบเดิมไม่ทั่วถึง จึงนำการให้น้ำแบบเดิมออก เปลี่ยนเป็นมินิสปิงเกอร์แบบเสาปัก เปลี่ยนตำแหน่งได้ เพื่อให้น้ำทั่วถึง เพิ่มการทดลองนำผ้าคลุมโคนต้น ป้องกันหญ้าขึ้นรอบโคน
1 ปี 4 เดือน
ผ่านไป 5 เดือน นำผ้าคลุมออกจากการคุมโคน หลังหน้าฝนที่ตกต่อเนื่อง เกิดอาการใบเหลืองล่วงเป็นจำนวนมาก สันนิฐานว่าเกิดโรครา จากที่ดินที่มีความชื้นต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาการเป็นเหมือนทั้งทั้งสวน แก้ปัญหาโดยนำยาราราดโคนต้น
2 ปี 5 เดือน
27 มกราคม 2566 เทียบจาก 1 ปี 4 เดือน ขนาดต่างกันมาก หลังผ่านหน้าฝน 2-3 เดือน อาการใบเหลืองล่วงจำนวนมาก ใบไหม้ปลายใบคล้ายเชื้อรา แต่ปล่อยทิ้งไว้เพิ่มสังเกตุอาการ ไม่นานใบที่เหลืองก็ล่วงหมด ต้นกลับมาอยู่ในสภาพปกติ
3 ปี 3 เดือน
3 ปี 4 เดือน
รดน้ำทุเรียน
ทุเรียนนนท์ พันธ์หมอนทอง
การปลูกทุเรียนหมอนทองพันธ์พื้นเมืองของนนท์เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่เกษตรกรและผู้บริโภค ด้วยรสชาติหวานมัน กลิ่นหอม และเนื้อที่เป็นเอกลักษณ์ การปลูกทุเรียนหมอนทองนั้นไม่เพียงแต่ต้องการความใส่ใจและความรู้เฉพาะทาง แต่ยังต้องมีการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
ดินที่ปลูก
พื้นที่ปลูกเป็นดินเหนียว มี 2 ส่วน ส่วนที่1 เป็นดินเหนียวเดิมของพิ้นที่ กับส่วนที่ 2 ดินเหนียวที่นำมาจากที่อื่น เพิ่มยกระดับผิวดินของสวนให้มีความสูงป้องกันน้ำท่วม ด้วยวิธีการขุดดินเดิมขึ้นมากองเหนือดินใหม่แล้วนำมาผสมกัน แต่ดินทั้งสองไม่เป็นดินที่เป็นกรด ต้องทำการปรับสภาพดินด้วยปูนขาว โดยใช้ปูนขาวสำหรับปรับสภาพดินจำนวน 30 กระสอบต่อพื้นที่สวนประมาณ 1 เศษ รวมทั้งทำการปรุงดินเพิ่มเติมโดยเพิ่มแกลบดิบ แกลบสุกและปุ๋ยคอก ปุ่ยหมักตามกรรมวิธี ตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือนก่อนทำการปลูกเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ให้แก่ดิน
การเลือกพันธุ์
เลือกพันธุ์ ทุเรียนนนท์ พันธ์หมอนทอง ที่มีคุณภาพจากสวนตาก้านสวนจำหหน่ายต้นพันธ์ทุเรียนในพื้นที่บางกร่าง นนทบุรีเช่นเดียวกัน โดยเลือกต้นพันธุ์ที่แข็งแรงเพื่อลดโอกาสของการติดโรคและเพิ่มโอกาสในการเจริญเติบโตและได้ผลผลิตที่ดี
การปลูก
ด้วยพื้นที่ในอดีตทุกระยะประมาณ 10 ปี จะเกิดน้ำท่วม จำเป้นต้องทำระดับพื้นโคนต้นให้สูงโดยการยกโคกให้เหนือจากระดับน้ำที่เคยท่วมเมื่อปี 2554 อีกประมาณ 80-90 ซม.เพื่อใหห้มั่นใจว่าน้ำจะไม่ท่วมในอนาคต สำหรับความกว้างช่วงโคก เริ่มต้นประมาณ1.50 เมตรและในปีต่อมาได้ขยายด้านข้างออกรวมประมาณ 2.50 เมตร ขุดหลุมปลูกบนโคกที่มีขนาดเหมาะสม ใส่ยากันปลวกและแมลงรองพื้นที่ข้นหลุม แล้วจึงปลูกต้นทุเรียน รดน้ำอย่างสม่ำเสมอและหลีกเลี่ยงการทำให้ต้นทุเรียนตั้งอยู่ในน้ำขัง
การดูแลรักษา
การรดน้ำ : ในระยะแรกทำการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะในช่วงเดือนแรกๆ หลังการปลูก ยกเว้นวันฝนตกหหรือดินยังมีความชื้นด้วยเดือนที่ปลูกเป็นช่วงหน้าฝน แต่ต้องหลีกเลี่ยงและป้องกันการทำให้ดินแฉะเกินไปซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคได้ง่าย การลดน้ำของทุเรียนนนท์ สวนบางขุนกอง จะใช้วิธีรดน้ำด้วยปริงเกอร์โดยการนำท่อพีวีซีขนาด 4 หุน มาดัดโค้งรอบโคนต้นเจาะรูรอบด้านจำนวน 8 รูให้พุ่งขึ้นแนว 90 องศาเพื่อให้น้ำพุ่งขั้นด้านบนเพื่อให้ใบทุเรียนโดนน้ำ ส่วนปลายท่อที่มาของน้ำต่อเข้ากับท่อ PE ขนาด 50 มมทีวางตามแนวต้น
การใส่ปุ๋ย : ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีตามรอบเวลา ปุ๋ยคอกใส่หหลังปลูกประมาณ 1 เดือน รอบๆโคนต้น ห่างประมาณ 3 ฝ่ามือ ส่วนปุ่ยเคมี โดยเน้นที่ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารสูง เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตทางสวนบางขุนกองเลือกใช้ปุ่ยยารา 21-7-14 ควบคู่ กับ สูตร 25-7-7 ในอีก 3 เดือนหลังปลูก โดยใส่ในปริมาณ 2 ช้อนชารอบๆโคนต้นห่างลำตันประมาณ 1 ฝ่ามือ
การตัดแต่งกิ่ง : อายุต้นประมาณ 2.5 ปี สำหรับต้นที่สมบูรณ์ กิ่งเริ่มหนาทึบ เริ่มตัดแต่งบ้าง หร่อบางกิ่งที่แห้งหรือเป็นโรคออก เพื่อลดการแพร่กระจายของโรคและแมลงรวมทั้งให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
ปัญหาโรคพืชและการป้องกันรักษา
โรครากเน่าโคนเน่า : สำหหรับ ทุเรียนนนท์ พันธ์หหมอนทอง ต้นที่ 1 ยังไม่เคยเกิดโรครากเน่าโคนเน่า เนื่องการการระบายน้ำดี รวมทั้งการลดน้ำที่เหมาะสม การระบายน้ำที่โคนต้นดี
โรครา : ช่วงอายุประมาณ 2 ปี ด้วยความหนาแน่นของกิ่งก้านและใบ บางช่วงขาดการป้องกัน ทำใหห้เกิดโรครา ปลายใบไม้ และบางสวนใบเลือกล่วงจำนวนมาก ทำการแก้โดยตัดแต่งกิ่งและรีบนำยาฆ่าเชื้อราที่เป็นเคมีมาใส่โดยการฉี ดพ่นใบ กิ่งก้าน ลำต้นรวมทั้งดินที่เป็นโคกทั้งหมด วิธีป้องกัีนควรไม่ให้โคนต้นเกิดความชื้นมากนัก ควรใส่ไตรโคเดอร์มาเป็นประจำทุกเดือนอย่างต่อเนื่อง
โรคใบจุด: ทุเรียนนนท์ พันธ์หหมอนทอง ต้นที่ 1 ตลอดการเจริณเติบโต ด้วยการดูแลที่ใกล้ชิดกว่าต้นอื่น ยังไม่มีอาการของโรคใบจุด ด้วยเพราะเป็นต้นที่เห็นก่อนทุกครั้งที่เข้าสวนและด้วยการดูแลที่ใกล้ชิด ทำให้ต้นแข็งแรงและมีการใช้สารป้องกันกำจัดโรคตามระยะเวลาที่เหมาะสม
ปัญหาโรคแมลงและการป้องกันรักษา
แมลงกัดกินใบ : หนอนชอนใบ ทุเรียนนนท์ พันธ์หหมอนทอง ต้นที่ 1 มแมลงกินใบทุเรียนบ้าง บางช่วงเวลาที่ไม่ได้ทำการฉีดยาหรือโรยยารอบโคนต้นป้องกัน ทำให้ใบมีร่องรอยกัดขาด ใบแหว่ง มีร่องลอยอย่างชัดเจน ได้รับความเสียหายบ้างแต่ไม่มากนัก
เพลี๊ย : ทุเรียนนนท์ พันธ์หหมอนทอง ต้นที่1 นี้ ทำการฉีดยาป้องกันเป็นระยะ แต่ด้วยเพลี๊ยมีหลายสายพันธ์ ความต้านทานยาแต่ชนิดจะไม่เท่ากัน บางครั้งการป้องกันโดยไม่เปลี่ยยกลุ่มยาอาจไม่ได้ผล ทำให้บางช่วงเกิดเพลี๊ยเล่นงาน สร้างความเสียหาย สำกรับทุเรียนต้นนี้ การป้องกันรักษาควรต้องเปลี่ยนตัวยาและกลุ่มยาหรือหมุนเวียนการใช้ยาเพื่อเลี่ยงการดื้อยาของแมลงศัตรูพืชประเภทนี้
หนอนเจาะลำต้น : สามารถทำลายลำต้นและกิ่งได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหหนอนเจาะลำต้นนี้ระวังได้ยาก วิธีป้องกัน สวนทุเรียนนนท์ใช้สตาร์เกิลจีโรยรอบโคนต้นทุก 3 เดือน สามารถป้องกันได้พอประมาณ สำหรับการป้องกัน ป้องกันโดยใช้วิธีการควบคุมศัตรูพืชโดยใช้สารเคมีสลับกับสารอินทรี เช่น การใช้น้ำส้มควันไม้ หรือการใช้สารกำจัดแมลงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การปลูกทุเรียนหมอนทองพันธ์พื้นเมืองของนนท์เป็นกระบวนการที่ต้องการความใจเย็นและความเอาใจใส่เป็นอย่างมากสำหรับการดูแลในแต่ละขั้นตอน