การปลูกทุเรียน

ทุเรียนเป็นไม้ผลเขตร้อน ซึ่งในประเทศไทยมีปลูกกันมากในภาคตะวันออก และภาคใต้พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์หมอนทอง ก้านยาว ชะนี และกระดุมทอง

ทุเรียนนอกจากจะผลิตเพื่อบริโภคในประเทศแล้วยังมีการผลิตเพื่อส่งไปขายยังต่างประเทศทั้งในรูปของผลสดและแปรรูป ในลักษณะต่าง ๆ

การเลือกพื้นที่ปลูกทุเรียน

สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ แหล่งน้ำต้องมีแหล่งน้ำจืดให้ต้นทุเรียนได้เพียงพอตลอดปี

อุณหภูมิและความชื้น
ทุเรียนชอบอากาศร้อนชื้นอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วงประมาณ25-30 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศประมาณ 75-85%ถ้าปลุกในพื้นที่ที่มีอากาศแห้งแล้งมีอากาศร้อนจัดเย็นจัด และมีลมแรงจะพบปัญหาใบไหม้หรือใบร่วงต้นทุเรียนไม่เจริญเติบโตหรือเติบโตช้าให้ผลผลิตช้าและน้อยไม่คุ้มต่อการลงทุน


สภาพดิน
ควรเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินเหนียวปนทรายที่มีการระบายน้ำดีและมีหน้าดินลึก เพราะทุเรียนเป็นพืชที่อ่อนแอต่อสภาพน้ำขังความเป็นกรดด่างของดินอยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ถ้จำเป็นต้องปลูกทุเรียนในสภาพดินทราย จำเป็นต้องนำหน้าดินจากแหล่งอื่นมาเสริมต้องใส่ปุ๋ยคอกและต้องดูแลเรื่องการให้น้ำมากเป็นพิเศษแหล่งน้ำต้องเพียงพอพันธุ์ทุเรียน

พันธุ์ทุเรียน ข้อดี ข้อเสีย

ชะนี

ข้อดี

  • ทนทานต่อโรค รากเน่า โคนเน่า
  • ออกดอกง่าย
  • เนื้อแห้ง รสดี สีสวย

ข้อเสีย

  • ดอกมาก ติดผลยาก
  • เป็นไส้ซึมง่าย
  • อ่อนแอต่อโรคใบติด

หมอนทอง

ข้อดีข้อเสีย
ราคาสูงกว่าอ่อนแอต่อโรครากเน่า โคนเน่า
ติดผลดี มีน้ำหนัก
เนื้อมาก เม็ดลีบ มีกลิ่นน้อย เนื้อละเอียด
ไม่เละ ผลสุกเก็บได้นาน
ไม่ค่อยเป็นไส้ซึม

ก้านยาว

ข้อดีข้อเสีย
ติดผลดีค่อนข้างอ่อนแอต่อโรครากเน่า โคนเน่า
ราคาดีเปลือกหนา เนื้อน้อย
น้ำหนักผลดีเป็นไส้ซึมค่อนข้างง่าย
ผลสุกเก็บได้ไม่นาน ก้นผลแตกง่าย
ให้ผลช้า

  • กระดุม – ไม่มีปัญหาไส้ซึม เพราะเป็น
    พันธุ์เบาเก็บเกี่ยวก่อนฝนตกชุก – อ่อนแอต่อโรครากเน่า โคนเน่า
    • ออกดอกเร็วผลแก่เร็วจึงขายได้ราคาดีในช่วงต้นฤดู
    • ผลดก ติดผลง่าย
    • อายุการให้ผลเร็ว

การปลูก

ฤดูปลูก
ถ้ามีการจัดระบบการให้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดูแลให้น้ำกับต้นทุเรียนได้สม่ำเสมอช่วงหลังปลูก ควรปลูกตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายนแต่ถ้าหากจัดระบบน้ำไม่ทันหรือยังไม่อาจดูแลเรื่องน้ำได้ ควรปลูกต้นฤดูฝนเตรียมพื้นที่การปลูกทุเรียน

  1. ไถ ขุดตอ ขุดรากไม้เก่าออกจากแปลง
  • พื้นที่ดอนไม่มีปัญหาน้ำท่วมขัง : ไถกำจัดวัชพืชอย่างเดียว
  • พื้นที่ดอน มีแอ่งที่ลุ่มน้ำขัง : ไถปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบ
  • พื้นที่ลุ่มหรือต่ำมีน้ำท่วมขัง : ทำทางระบายน้ำหรือยกร่อง

ระยะห่างก่อนปลูก

  1. กำหนดระยะปลูก
    ระยะระหว่างต้นและระยะระหว่างแถวด้านละ 9 เมตร ปลูกได้ไร่ละ 20 ต้น การทำสวนขนาดใหญ่ควรขยายระยะระหว่างแถวให้กว้างขึ้นเพื่อสะดวกต่อการนำเครื่องจักรกลต่าง ๆ ไปทำงานในระหว่างแถว
  2. วางแนวและปักไม้ตามระยะปลูกที่กำหนด วางแนวกำหนดแถวปลูกโดยคำนึงว่า แนวปลูกขวางความ ลาดเทของพื้นที่ หรืออาจกำหนดในแนวตั้งฉากกับถนน หรือกำหนด แถวปลูกไปในแนวทิศตะวันออก ตก และถ้ามีการจัดวางระบบน้ำ ต้องพิจารณาแนวทางจัดวางท่อในสวนด้วย จากนั้นจึงปักไม้ตามระยะที่กำหนด เพื่อขุดหลุมปลูกต่อไป

วิธีการปลูกทุเรียนทำได้ 2 ลักษณะ

  1. วิธีการขุดหลุมปลูก เหมาะกับสวนที่ไม่มีการวางระบบน้ำ
  2. วิธีการปลูกแบบไม่ขุดหลุม เหมาะกับสวนที่จัดวางระบบน้ำมีข้อดีคือ ประหยัดแรงงานค่าใช้จ่ายในการขุดหลุม ดินระบายน้ำและอากาศดี รากเจริญเร็ว การปลูกทุเรียนแบบขุดหลุมปลูก

ขั้นตอนการปลูก

  • ขุดหลุมมีขนาดกว้างยาว และลึกด้านละ 50 เซนติเมตร
  • ผสมปุ๋ยคอกเก่าประมาณ 5 กิโลกรัม และปุ๋ยหินฟอสเฟต ครึ่งกิโลกรัม คลุกเคล้ากับดินที่ขุดขึ้นมา กลบกลับคืนไปในหลุมสูง ประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
  • เตรียมต้นกล้าที่แข็งแรงสมบูรณ์ ไม่เป็นโรค ไม่มีแมลงทำลาย และมีใบยอดคู่สุดท้ายแก่ ระบบรากแผ่กระจายดี ไม่ขดม้วนงออยู่ก้นถุง
  • ใช้มีดกรีดก้นถุงออก ถ้าพบรากขดงออยู่ก้นถุงให้ตัดออก
  • วางถุงต้นกล้าที่ตัดก้นถุงออกแล้ว วางลงตรงกลางหลุม จัดให้ตรงแนวกับต้นอื่นๆพร้อมทั้งปรับระดับสูงต่ำของต้นทุเรียนให้ รอยต่อระหว่างรากกับลำต้นหรือระดับดินปากถุงเดิมสูงกว่าระดับดิน ปากหลุมเล็กน้อย
  • ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงจากล่างขึ้นบนทั้งสองด้าน
  • ดึงถุงพลาสติกออก ระมัดระวังอย่าให้ดินในถุงแตก
  • กลบดินที่เหลือลงไปในหลุมอย่ากลบดินสูงถึงรอยเสียบยอด หรือรอยทาบ
  • ปักไม้หลักข้างต้นทุเรียนที่ปลูกแล้ว พร้อมทั้งผูกเชือกยึดไว้ เพื่อป้องกันลมพัดโยก
  • กดดินบริเวณโคนต้น หาวัสดุคลุมโคนต้นแล้วรดน้ำตามให้โชก
  • จัดทำร่มเงาให้ต้นทุเรียนที่เพิ่งปลูก โดยใช้ทางมะพร้าว ทางจาก แผงหญ้าคา ทางระกำหรือตาข่ายพรางแสง เมื่อทุเรียนตั้งตัวดีแล้วควรปลดออก หรืออาจปลูกไม้เพื่อให้ร่มเงา เช่น กล้วยก็จะช่วยเป็นร่มเงาและเพิ่มความชื้นในสวนทุเรียนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งที่อากาศแห้ง และมีแสงแดดจัด
  • แกะผ้าพลาสติกที่พันรอยเสียบยอดหรือทาบออกเมื่อปลูกไปแล้วประมาณ 1-2 เดือน
    การปลูกทุเรียนแบบไม่ขุดหลุม
  • โรยปุ๋ยหินฟอสเฟต 500 กรัม หรือประมาณหนึ่งกระป๋องนม ครึ่ง ตรงตำแหน่งที่ต้องการปลูกกลบดินบาง ๆ
  • นำต้นพันธุ์มาวาง แล้วถากดินข้าง ๆ ขึ้นมาพูนกลบ แต่ถ้า หากเป็นดินร่วนปนทราย ดินทราย ดินจะไม่เกาะตัวกัน ควรใช้วิธี ขุดหลุมปลูก หรือจะใช้วิธีดัดแปลง
  • วิธีดัดแปลง คือ นำหน้าดินจากแหล่งอื่นมากองตรงตำแหน่ง ที่จะปลูก กองดินควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร สูง 15 เซนติเมตร แหวกกลางกองดินโรยปุ๋ยหินฟอสเฟตในช่องที่แหวกไว้ กลบดินบาง ๆ วางต้นพันธุ์ดีลงตรงช่องที่แหวกไว้กลบดินทับ 4. การแกะถุงออก ต้องระมัดระวังอย่าให้ดินแตก อาจทำได้โดยกรีดก้นถุงออกก่อน แล้วนำไปวางในตำแหน่งที่ปลูก กรีดถุงพลาสติก ให้ขาดจากล่างขึ้นบน แล้วจึงค่อย ๆ ดึงถุงพลาสติกออกเบา ๆ
  • ระมัดระวังอย่ากลบดินให้สูงถึงรอยเสียบยอดหรือรอยทาบ
  • หาวัสดุคลุมโคน และจัดทำร่มเงาให้กับต้นทุเรียนเหมือน การปลูกโดยวิธีขุดหลุม
    การปฏิบัติดูแลรักษาทุเรียน

การปฏิบัติดูแลทุเรียนในช่วงก่อนให้ผลผลิตเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ทุเรียนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และให้ผลผลิตได้เร็วขึ้น

  1. ในระหว่างรอทุเรียนให้ผลผลิต ในช่วงแรกควรปลูกพืชแซมเสริมรายได้ โดยเลือกพืชให้ตรงกับความต้องการของตลาด
  2. เมื่อตรวจพบทุเรียนตายหลังปลูกให้ทำการปลูกซ่อม
  3. การให้น้ำ ช่วงเวลาหลังจากปลูกจะตรงกับฤดูฝน ถ้ามีฝนตกหนักควรทำทางระบายน้ำ และตรวจดูบริเวณหลุมปลูก ถ้าดินยุบตัวเป็นแอ่งมีน้ำขังต้องพูนดินเพิ่ม ถ้าฝนทิ้งช่วง ควรรดน้ำให้ดินมีความชื้นอยู่เสมอในปีต่อ ๆ ไป ควรดูแลรดน้ำให้ต้นไม้ผลอย่างสม่ำเสมอ และในช่วงฤดูแล้งควรใช้วัสดุคลุมดิน เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน เช่น
    ฟางข้าว หญ้าแห้ง
  4. การตัดแต่งกิ่ง
    ปีที่ 1-2 ไม่ควรตัดแต่ง ปล่อยให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโต อย่างเต็มที่
    ปีต่อ ๆ ไป ตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งแขนง กิ่งกระโดงในทรงพุ่ม กิ่งเป็นโรคออก เลี้ยงกิ่งแขนงที่สมบูรณ์ที่อยู่ในแนวขนานกับพื้น (กิ่ง มุมกว้าง) ไว้ในปริมาณและทิศทางเหมาะสม โดยให้กิ่งล่างสุดอยู่สูงจาก พื้นดินประมาณ 80-100 เซนติเมตร
  5. การป้องกันกำจัด ช่วงแตกใบอ่อน : ควรป้องกันกำจัดโรคใบติด เพลี้ยไก่แจ้
    เพลี้ยไฟ ไรแดง
    ช่วงฤดูฝน:ป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าและควบคุม
    วัชพืชโดยการปลูกพืชคลุมดินและอาจจะกำจัดโดยใช้แรงงานขุด ถาก
    ถอน ตัด พยายามหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีเพราะต้นทุเรียนยังเล็กอยู่
    ละอองสารเคมีอาจจะไปทำลายต้นทุเรียน
  6. การทำร่มเงา
    ในช่วงฤดูแล้ง แสงแดดจัดมาก ทำให้ทุเรียนใบไหม้ได้ ควร
    ทำร่มเงาให้

การใส่ปุ่ย

  • ใส่ปุ๋ยหลังจากตัดแต่งกิ่ง
  • ใส่ปุ๋ยพร้อมกับการทำโคน คือถากวัชพืชบริเวณใต้ทรงพุ่มหว่านปุ๋ย และพรวนดินนอกชายพุ่มขึ้นมากลบใต้ทรงพุ่ม ให้มีลักษณะเป็นหลังเต่าและขยายขนาดของเนินดินให้กว้างขึ้นตามขนาดของทรงพุ่มหรือจะใส่ปุ๋ยโดยวิธีใช้ไม้ปลายแหลมแทงดินเป็นรูหยอดปุ๋ยใส่และปิดหลุมเป็นระยะให้ทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่มวิธีหลังนี้แม้จะเปลืองแรงงานแต่ช่วยลดการสูญเสียของปุ๋ยจากการระเหย หรือถูกน้ำชะพา
  • หว่านปุ๋ยคอกก่อนและตามด้วยปุ๋ยเคมี
  • ควรใส่ปุ๋ยในบริเวณใต้ทรงพุ่มโดยรอบ และให้ห่างจากโคนต้นประมาณ 20-30เซนติเมตรขึ้นไป ขึ้นกับขนาดทรงพุ่มปริมาณและเวลาใส่ปุ๋ย

ปีที่ 1 :

ใส่ปุ๋ยและทำโคน 4 ครั้ง (เดือนเว้นเดือน)
ครั้งที่ 1-3 ใส่ปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัมต่อต้น (ประมาณ 1 ปีบ)
ครั้งที่ 4 – ใส่ปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัมต่อต้น (ประมาณ 1 ปีบ)
-ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ประมาณ150-200 กรัมต่อต้น (ครึ่งกระป๋องนมข้น)
ปีต่อ ๆ ไป (ระยะที่ทุเรียนยังไม่ให้ผลผลิต) :

ใส่ปุ๋ยและทำโคน 2 ครั้ง (ต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน)
ครั้งที่ 1 (ต้นฝน) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ประมาณครึ่งถึง 3 กิโลกรัมต่อต้น
ครั้งที่ 2 (ปลายฝน) ใส่ปุ๋ยคอก 15-50 กิโลกรัมต่อต้น (ประมาณ 3-10 ปีบ)ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16ประมาณครึ่งถึง 3 กิโลกรัมต่อต้น ปริมาณปุ๋ยเคมีที่ใส่ในแต่ละครั้งขึ้นกับขนาดของทรงพุ่ม โดยยึดหลักว่าวัดจากโคนต้นมายังชายพุ่มเป็นเมตรได้เท่าไร คือจำนวนปุ๋ยเคมี ที่ใส่เป็นกิโลกรัม เช่น ระยะจากโคนต้นถึงชายพุ่ม 1 เมตร ใส่ปุ๋ย 1 กิโลกรัม
ระยะจากโคนต้นถึงชายพุ่ม 2 เมตร ใส่ปุ๋ย 2 กิโลกรัมระยะจากโคนต้นถึงชายพุ่ม 2 เมตรครึ่ง ใส่ปุ๋ย 2 กิโลกรัมครึ่ง
– การปฏิบัติดูแลทุเรียนในช่วงให้ผลผลิตแล้วเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ทุเรียนออกดอกติดผลมาก และให้ผลผลิตคุณภาพดี

การเตรียมต้นให้พร้อมที่จะออกดอก

คือการเตรียมให้ต้นทุเรียนมีความสมบูรณ์ มีอาหารสะสมเพียงพอเมื่อทุเรียนมีใบแก่ทั้งต้น และสภาพแวดล้อมเหมาะสม ฝนแล้ง ดินมีความชื้นต่ำ อากาศเย็นลงเล็กน้อยทุเรียนก็จะออกดอกขั้นตอนต่าง ๆ จะต้องรีบดำเนินการภายหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตดังนี้

  1. การตัดแต่งกิ่ง
    หลังเก็บเกี่ยวให้รีบตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งเป็นโรค กิ่งแขนงด้านในทรงพุ่มออกโดยเร็ว ทารอยแผลที่ตัดด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา หรือปูนแดงกินกับหมาก
  2. หลังตัดแต่งกิ่ง ให้กำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยทันที
  • ปุ๋ยคอก 15-50 กิโลกรัมต่อต้น (ประมาณ 3-10 ปีบ)
  • ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ในอัตรา
    3-5 กก.ต่อต้น
    (ทุเรียนต้นที่ขาดความสมบูรณ์ต้องการปุ๋ยมากกว่าทุเรียนต้น
    ที่มีความสมบูรณ์อยู่แล้ว ทุเรียนต้นที่ให้ผลผลิตไปมาก ต้องการปุ๋ย
    มากกว่าทุเรียนที่ให้ผลผลิตน้อย)
  1. ในช่วงฤดูฝน
  • ถ้าฝนตกหนัก จัดการระบายน้ำออกจากแปลงปลูก
  • ถ้าฝนทิ้งช่วง ให้รดน้ำแก่ต้นทุเรียน
  • ควบคุมวัชพืช โดยการตัดและ หรือใช้สารเคมี
  • ป้องกันกำจัดโรคแมลง เช่น โรครากเน่าโคนเน่า โรค
    ใบติด โรคอแนแทรกโนส เพลี้ยไก่แจ้ ไรแดงและเพลี้ยไฟ
  1. ในช่วงปลายฤดูฝน
  • เมื่อฝนทิ้งช่วง ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24, 9-24-24
    หรือ 12-24-12 2-3 กก.ต่อต้น เพื่อช่วยในการออกดอก
  • ให้กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่ม กวาดเศษหญ้า และใบทุเรียน
    ออกจากโคนต้น เพื่อให้ดินแห้งเร็วขึ้น
  • งดการให้น้ำ10-14วันเมื่อสังเกตเห็นใบทุเรียนเริ่ม
    สลดลงต้องเริ่มให้น้ำทีละน้อยเพื่อกระตุ้นให้ตามดอกเจริญอย่าปล่อย
    ให้ขาดน้ำนานจนใบเหลืองใบตกเพราะตาดอกจะไม่เจริญ และระวัง
    อย่าให้น้ำมากเกินไป เพราะช่อดอกอาจเปลี่ยนเป็นใบได้
    วิธีให้น้ำที่เหมาะสม คือ ให้น้ำแบบโชย ๆ แล้วเว้นระยะ สังเกต
    อาการของใบและดอก เมื่อเห็นดอกระยะไข่ปลามากพอแล้ว ก็เพิ่ม
    ปริมาณให้มากขึ้นเรื่อย ๆ จนสู่สภาวะปกติ
  • การดูแลในช่วงออกดอก
    1. การควบคุมการให้น้ำ
  • เมื่อทุเรียนออกดอกในระยะไข่ปลามีปริมาณมากพอแล้ว ก็เริ่มให้น้ำมากขึ้นจนสู่สภาพปกติ
  • ในระยะก่อนดอกบาน 7-10 วัน (ระยะหัวกำไล) ไป จนถึงดอกบานและระยะปิ่นให้ลดการให้น้ำลง 2 ใน 3 ของปกติ
    1. การตัดแต่งดอก
  • ตัดดอกที่อยู่ตามกิ่งเล็ก ๆ หรือปลายกิ่งทิ้ง
  • ควรตัดแต่งเมื่อดอกทุเรียนอยู่ในระหว่างระยะมะเขือพวง ถึงระยะหัวกำไล
  • ถ้ามีดอกรุ่นเดียวกันปริมาณมาก ตัดแต่งให้เหลือปริมาณ ดอกพอเหมาะอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ
  • ถ้ามีดอก 2 รุ่น ปริมาณเท่า ๆ กัน ตัดแต่งให้เหลือ ดอกรุ่นที่จะขายได้ราคาดี
  • ถ้ามีดอก 2 รุ่น ปริมาณต่างกัน ให้ตัดรุ่นที่มีปริมาณ ดอกน้อยออก แต่ถ้าปริมาณดอกมีน้อย จำเป็นต้องไว้ดอกต่างรุ่นควร
  • ไว้ดอกรุ่นเดียวกัน บนกิ่งเดียวกัน
  • ไว้ดอกรุ่นเดียวกัน บนกิ่งที่อยู่ชิดกัน
  • ถ้าจะไว้ดอกต่างรุ่นบนกิ่งชิดกัน ต้องการดอกรุ่นไหน มากกว่าก็ต้องตัดแต่งให้เหลือดอกมากกว่า -ในพันธุ์ชะนีควรตัดแต่งให้เหลือช่อดอกขนาดใหญ่รวมกัน เป็นกลุ่มบริเวณกลางกิ่ง และอย่าตัดให ้เหลือดอกน้อยเกินไป เพราะดอกทุเรียนพันธุ์ชะนีมีเปอร์เซ็นต์ติดผลต่ำและผลอ่อนเจริญช้า การมีช่อดอกรวมเป็นกลุ่ม ทำให้มีพลังดูดดึงอาหารสูงขึ้น
    1. ป้องกันกำจัดโรคแมลง
      เช่น เพลี้ยไฟ ไรแดง หนอน กัดกินก้านดอก เพลี้ยอ่อน โรคดอกเน่าและโรคดอกแห้ง
    2. การช่วยให้ดอกทุเรียนติดผลดีขึ้น
      เช่น เพลี้ยไฟ ไรแดง หนอน กัดกินก้านดอก เพลี้ยอ่อน โรคดอกเน่าและโรคดอกแห้ง
      4.1 ช่วยผสมเกสร โดยใช้เกสรตัวผู้จากต้นที่ต่างพันธุ์กัน
      – เตรียมเกสรตัวผู้ เวลา 19.00-19.30 น. ตัดเฉพาะ อับเกสรตัวผู้ ที่มีละอองเกสรสีขาวติดอยู่
      – พู่กันหรือแปรงขนอ่อนแตะละอองเกสรตัวผู้ไปป้าย ที่ยอดเกสรตัวเมีย ที่มีลักษณะกลมและมีสีเหลือง
      4.2 ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบที่มีธาตุ แคลเซี่ยม-โบรอน หรือโบรอน เพียงอย่างเดียว ในระยะหัวกำไล หรือประมาณ 10-15 วัน ก่อนดอกบาน
  • การดูแลในช่วงติดผลแล้ว
  1. ตัดแต่งผล

ครั้งที่ 1 หลังดอกบาน 3-4 สัปดาห์ ตัดแต่งผลที่มีรูปทรง บิดเบี้ยว ผลขนาดเล็กหรือผลต่างรุ่น ผลที่อยู่ใน ตำแหน่งไม่เหมาะสม เช่น ปลายกิ่ง ด้านข้างของ กิ่ง และผลที่ติดเป็นกระจุกใหญ่ ๆ ออกเหลือผล ที่ดีไว้มากกว่าที่ต้องการจริง 50 %
ครั้งที่ 2 หลังดอกบาน 6-8 สัปดาห์ ตัดผลที่มีขนาดเล็กกว่า ผลอื่นในรุ่นเดียวกัน ผลบิดเบี้ยว ผลที่มีอาการ หนามแดง
ครั้งที่ 3 ตัดแต่งครั้งสุดท้ายตัดผลขนาดเล็ก ผลบิดเบี้ยว ผลก้นจีบออก จะเหลือผลที่มีขนาดและรูปทรง สม่ำเสมอ ในปริมาณเท่ากับที่ต้องการจริง เมื่อตัดแต่งผลครั้งสุดท้ายเสร็จควรโยงกิ่ง เพื่อป้องกันกิ่ง หักจากน้ำหนักผลที่มากขึ้น หรือโยงผลป้องกันผลร่วงในพื้นที่มีลมแรง

  1. การใส่ปุ๋ย
  • หลังจากติดผลแล้ว 5-6 สัปดาห์ ให้ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 12-12-17-2 หรือ 13-13-21 หรือ 4-16-24-4 ประมาณต้นละ 2-4 กิโลกรัมเพื่อเร่งการเจริญของผล
  • หลังจากติดผลแล้ว 7-8 สัปดาห์ ให้ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 0-0-50 ประมาณ 1-2 กิโลกรัม เพื่อเพิ่มคุณภาพเนื้อและเพิ่มความ เข้มของสีเนื้อ
  • ถ้าต้นทุเรียนขาดความสมบูรณ์ ใบเล็ก ใบซีด ไม่เขียวเข้ม ควรให้ปุ๋ยทางใบเสริมในช่วงสัปดาห์ที่ 5-10 หลังดอกบาน เพื่อช่วยให้ ผลทุเรียนเจริญดีขึ้น
  1. การควบคุมไม่ให้ทุเรียนแตกใบอ่อน

ถ้าทุเรียนแตกใบอ่อนในช่วงติดผล ใบอ่อนและผลทุเรียน จะแย่งอาหารกันและเกิดผลเสียดังนี้

  • ถ้าพบว่าทุเรียนจะแตกใบอ่อน โดยสังเกตเห็นเยื่อหุ้มตา เริ่มเจริญหรือเรียกระยะหางปลา ให้ยับยั้งด้วยการฉีดพ่นปุ๋ยโปแตสเซี่ยม- ไนเตรท สูตร 13-0-45 อัตรา 150-300 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และ ถ้ายังพบว่ายอดทุเรียนยังพัฒนาต่อ ควรฉีดพ่นซ้ำอีกครั้งหลังจากครั้งแรก 1-2 สัปดาห์
  • ถ้าพบทุเรียนแตกใบอ่อนในขณะที่ผลโตแล้ว การฉีดพ่น ปุ๋ยทางใบ (อาหารเสริม) จะช่วยให้ผลทุเรียนสมบูรณ์ขึ้น
  1. การให้น้ำ ดูแลให้น้ำสม่ำเสมอ ตลอดช่วงที่กำลังติดผล
  2. จดบันทึกวันดอกบาน ของแต่ละรุ่น แต่ละต้นไว้
    พร้อมกับทำเครื่องหมายไว้โดยใช้เชือกสีที่แตกต่างกันในการโยงกิ่งที่ติดผล แต่ละรุ่น เพื่อความสะดวกในการเก็บเกี่ยว และการวางแผนด้านตลาด
  3. การป้องกันกำจัดโรคแมลง ตรวจสอบและป้องกันกำจัด โรคผลเน่า หนอนเจาะผล หนอนกินเมล็ดทุเรียน ไรแดง เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง และเพลี้ยหอย
    การเก็บเกี่ยวและปฏิบัติการหลังเก็บเกี่ยว

เลือกเก็บเกี่ยวเฉพาะผลทุเรียนแก่แล้วเท่านั้น

  1. ควรกำจัดวัชพืช เพื่อเตรียมพื้นที่ให้เก็บเกี่ยวได้สะดวก
  2. เก็บเกี่ยวผลที่แก่แล้ว โดยสังเกตจากลักษณะของผลและ นับอายุลักษณะผลเมื่อทุเรียนแก่จะพบการเปลี่ยนแปลงดังนี้
  • สีเปลือกจะเปลี่ยนจากเขียวสดเป็นสีน้ำตาลหรือเขียวแกมเทาแต่ผลที่อยู่นอกทรงพุ่มโดนแสงแดดมากจะมีสีน้ำตาลมากกว่าผลที่อยู่ในทรงพุ่ม
  • ก้านผลเข้มขึ้นเป็นสีน้ำตาลคล้ำ สาก ตรงรอยต่อของระหว่าง ก้านผลตอนบนกับก้านผลตอนล่าง (ปลิง) จะบวมใหญ่ เห็นรอยต่อ ชัดเจน
  • ปลายหนามแห้ง มีสีน้ำตาล หนามกางออกร่องหนาค่อน ข้างห่าง – สังเกตรอยแยกบนพูจะเห็นได้ชัดเจน ยกเว้นพันธุ์ก้านยาว จะเห็นไม่ชัด
  • ชิมปลิง ทุเรียนแก่จัด เมื่อตัดขั้วผลหรือปลิงออกจะพบ น้ำใส ๆ ไม่ข้นเหนียว เหมือนทุเรียนอ่อน ชิมดูจะมีรสหวาน
  • การเคาะเปลือกหรือกรีดหนาม ผลทุเรียนที่แก่จัดจะมี เสียงดังหลวม ๆ
  • ทั้งนี้เมื่อผลทุเรียนในต้นเริ่มแก่สุกและร่วงก็เป็นสัญญาณ เตือนว่าทุเรียนที่เหลือซึ่งเป็นรุ่นเดียวกันเริ่มแก่สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้วการนับอายุโดยนับจำนวนวันหลังจากดอกบานจนถึงวันที่ผลแก่ พร้อม ที่จะเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์
  • พันธุ์กระดุมใช้เวลา 90-100 วัน
    n พันธุ์ชะนีใช้เวลา 110-120 วัน
    n พันธุ์ก้านยาวใช้เวลา 120-135 วัน
    n พันธุ์หมอนทองใช้เวลา 140-150 วัน
    การนับอายุนี้อาจคลาดเคลื่อนได้เล็กน้อย ขึ้นกับอุณหภูมิ ของอากาศ เช่น อากาศร้อนและแห้งแล้ง ทุเรียนจะแก่เร็วขึ้น ฝน ตกชุกความชื้นสูงทุเรียนจะแก่ช้า เพื่อสะดวกในการจำและไม่ผิดพลาดในการตัดทุเรียนอ่อนเกษตรกรควรจดบันทึกวันที่ดอกบาน และทำเครื่องหมายรุ่น ดังนี้
    : จดบันทึกวันที่ดอกทุเรียนบานของแต่ละพันธุ์ และแต่
    ละรุ่น
    : ทำเครื่องหมายรุ่นโดยในขณะที่โยงกิ่งด้วยเชือก ควรใช้สี
    ที่แตกต่างกันในการโยงกิ่งแต่ละรุ่น ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการตัดทุเรียน
    ที่แก่มีคุณภาพดี
  • วิธีการเก็บเกี่ยว
  • ตัดเหนือปลิงของก้านผล ด้วยมีดคมและสะอาดส่งลงมา ให้คนที่รอรับข้างล่าง อย่าให้ผลตกกระทบพื้น วิธีที่นิยมคือใช้เชือกโรย หรือใช้กระสอบป่านตระหวัดรับผล
  • ห้ามวางผลทุเรียนบนพื้นดินในสวนโดยตรง เพื่อป้องกันเชื้อรา ที่เป็นสาเหตุของโรคผลเน่าติดไปกับผลทุเรียน
    n ทำความสะอาด คัดคุณภาพ คัดขนาดก่อนจำหน่าย
    โรคแมลงศัตรูทุเรี่ยน และการป้องกัน
    ไรแดงทุเรียน ไรแดงมีการระบาดมากในช่วงฤดูหนาวหรือตอนฝนทิ้งช่วง ซึ่ง มีอากาศแห้งแล้งและลมแรง โดยไรแดงจะดูดน้ำเลี้ยง อยู่บริเวณหน้าใบ ของทุเรียน โดยเฉพาะตามแนวเส้นกลางใบ เห็นคราบไรเป็นสีขาวเกาะ ติดบนใบเป็นผงสีขาวคล้ายนุ่นจับ และจะทำให้ใบร่วง หลังจากนั้น ทุเรียนจะแตกใบใหม่ ซึ่งจะตรงกับช่วงดอกบานหรือเริ่มติดผล ทำให้ ดอกและผลร่วงเสียหาย แต่ถ้าเป็นช่วงผลอ่อนแล้ว จะทำให้ผลบิดเบี้ยว ทรงไม่ดี นอกจากนั้นแล้ว ไรแดงยังดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนของผลอ่อน ใบอ่อน กิ่งอ่อน ได้อีกด้วย วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน
  1. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติไว้ควบคุมไรแดง ได้แก่ ไรตัวห้ำ ด้วงเต่า แมลงวันขายาว แมงมุม
  2. ถ้าสำรวจพบไรแดงกระจายทั่วทั้งสวน ให้ฉีดน้ำให้ทั่วในทรงพุ่ม ของต้นเพื่อลดปริมาณไรแดงลง
  3. เมื่อพบว่าไรแดงเพิ่มปริมาณสูงขึ้นให้ตรวจนับปริมาณไรแดง บนใบ ถ้าพบไรแดงปริมาณเฉลี่ย 10 ตัวต่อใบ ให้ใช้สารเคมีกำจัดไร คือ
  • โปรพาร์ไกท์ 30 % อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
  • เฮกซีไธอะซ็อก 2 % อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร (ใช้หลังจากฉีดพ่น โปร์พาร์ไกท์ แล้ว 5-7 วัน เมื่อยังพบไข่และตัวอ่อน ไรแดง)
    เพลี้ยไก่แจ้ ตัวเต็มวัยของแมลงชนิดนี้วางไข่เข้าไปในเนื้อเยื่อใบพืช ทำให้เห็นเป็นวงสีเหลืองหรือสีน้ำตาลตามใบเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มหนึ่งมีประมาณ 8-14 วง หลังจากนั้น ไข่จะฟักออกเป็นตัวอ่อน ขนาดประมาณ 3 มิลลิลิตร และมีปุยสีขาวติดอยู่ตามลำตัว โดยเฉพาะด้านท้ายของลำตัว มีปุยขาวคล้าย ๆ กับหางไก่ แมลงชนิดนี้จึงได้ชื่อว่า “เพลี้ยไก้แจ้” หรือ “เพลี้ยไก่ฟ้า” เมื่อแมลงลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยจะมีสีน้ำตาลปนเขียว ขนาดยาวประมาณ 5 มิลลิลิตร มีอายุได้นานถึง 6 เดือน มักไม่ค่อย บินนอกจากถูกกระทบกระเทือน แมลงชนิดนี้มีระบาด อยู่ในบริเวณที่ปลูกทุเรียนทั่ว ๆ ไป ระยะเวลาการระบาดคือ ช่วงทุเรียนแตกใบอ่อน ระหว่างกลางเดือน พฤษภาคม-กลางเดือนพฤศจิกายน ลักษณะการทำลาย
    ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยของเพลี้ยไก่แจ้ดูดกินน้ำเลี้ยง จากใบอ่อน ของทุเรียน ทำความเสียหาย ให้กับทุเรียนอย่างมาก ทำให้ใบอ่อนเป็น จุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโต และเล็กผิดปกติ เมื่อระบาด มาก ๆ ใบ จะหงิกงอแห้งและร่วงหมด นอกจากนั้นยังทำให้ยอดอ่อนแห้งและ ตายได้ ตัวอ่อนของเพลี้ยชนิดนี้จะขับสารสีขาวออกมาเป็นสาเหตุทำให้ เกิดเชื้อราตามบริเวณที่มีสารสีขาว วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน
  1. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยไก่แจ้ไว้ควบคุมเพลี้ยไก่แจ้ ตามธรรมชาติ ได้แก่ ด้วงเต่าปีกลายหยัก ด้วงเต่าสีส้ม ด้วงเต่าลายสมอ แมลงช้าง ต่อต่าง ๆ แมงมุม
  2. การกระตุ้นให้ทุเรียนแตกใบอ่อนพร้อมกัน โดยการใส่ปุ๋ย ยูเรีย (46-0-0) อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น จะช่วยลดช่วงเวลาการเข้า ทำลายของเพลี้ยไก่แจ้ให้สั้นลง และจะทำการควบคุมได้ในเวลาพร้อมกัน
  3. สำรวจยอดอ่อนและใบอ่อนทุเรียน เมื่อพบเพลี้ยไก่แจ้ให้ใช้ กับดักสารเหนียวสีเหลือง ล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย หรือฉีดพ่นน้ำบนใบอ่อน ที่คลี่แล้ว เพื่อลดปริมาณเพลี้ยไก่แจ้ และเมื่อสำรวจพบจำนวนยอด ทุเรียนที่ถูกทำลายจำนวน 4 ยอดต่อต้น ให้ใช้สารเคมี ชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังนี้
  • ไซฮาโลธริน แอล 25 % อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
  • เอนโดซัลแฟน 35% อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
  • คาร์โบซัลแฟน 20% อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 50 ลิตร หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน ปีกสีน้ำตาลเข้ม มีจุดสีเหลือง หรือเหลืองปนขาวข้างละ 3 จุด มักพบตัวเต็มวัยอยู่ในสวนเมื่อผล ทุเรียนมีอายุประมาณ 2 เดือน ตัวเต็มวัยจะวางไข่บนผล ทุเรียนใกล้ ๆ ขั้ว เป็นฟองเดี่ยว ๆ ต่อมา หนอนจะไชเข้าไปภายในและกัดกินเมล็ด โดยไม่ทำลาย เนื้อทุเรียนเลย ยกเว้นจะมีทางเดินเล็ก ๆ ระหว่างเนื้อและ ผิวเปลือกด้านในซึ่งจะมีรอยเป็นเส้น เมล็ดที่ถูกทำลายส่วนใหญ่จะอยู่ ในระยะที่เมล็ดในแข็งแล้ว โดยหนอนจะใช้เวลา เจริญเติบโต อยู่ภายใน เมล็ดประมาณ 30 วัน การทำลายของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนนั้น หนอนชนิดนี้จะ เจาะไชเข้าไปภายใน เมล็ดกัดกินและขับถ่ายมูลออกมา ทำให้เนื้อทุเรียน เปรอะเปื้อนเสียหาย หนอนโตเต็มที่มี ขนาดยาวประมาณ 4 เซนติเมตร หนอนโตเต็มที่พร้อมจะเข้าดักแด้ ก็จะเจาะออกจากผล เป็นรูและทิ้งตัว เข้าดักแด้ในดินซึ่งเข้าใจว่า จะออกจากดักแด้ในฤดูถัดไปทุเรียนที่ถูก ทำลายและมีรูที่หนอน เจาะออกมานี้ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน
  1. ใช้กับดักแสงไฟ เพื่อล่อดักทำลายผีเสื้อ ซึ่งจะทำให้ลด ปริมาณการระบาดลงได้ และผลจากการติดตั้งกับดักแสงไฟจะทำให้ ทราบว่า เริ่มมีผีเสื้อในช่วงไหน เพื่อจะทำให้ฉีดพ่นสารฆ่าแมลงได้ถูก ช่วงเวลา
  2. ใช้สารเคมี เช่น คาร์บาริล เอ็นโดซัลแฟนหรือเมทามิโดฟอส พ่นหลังจากพบผีเสื้อ ในกับดักแสงไฟครั้งแรก
  3. การขนเมล็ดทุเรียน จากแหล่งที่มีการระบาดของหนอน เจาะเมล็ดเพื่อนำไปเพาะเป็นต้นตอ ในการขยายพันธุ์ ควรมีการแช่ด้วย สารเคมี เช่นคาร์บาริล ก่อนการขนย้ายเพื่อจะช่วยฆ่าหนอน ซึ่งติด มากับเมล็ดได้
  4. รักษาสวนให้สะอาดอยู่เสมอ หมั่นตรวจสวนหลังจากทุเรียน ติดผลแล้ว เมื่อพบผลที่ถูกทำลาย หรือผลร่วงในสวนที่มีการระบาดของ หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ควรเก็บผลร่วงไปเผาทำลายทิ้งทุกวัน เพราะ หลังจากทุเรียนร่วงไม่นาน ถ้ามีหนอนอยู่ภายในหนอนจะเจาะรูออกมา เพื่อเข้าดักแด้ในดิน หนอนเจาะผล เป็นหนอนของผีเสื้อขนาดเล็กปีกสีเหลืองมีจุดสีดำ เข้าทำลาย ผลทุเรียนตั้งแต่ผลเล็ก จนกระทั่งผลโต โดยตัวแก่จะวางไข่ภายนอก ผลทุเรียน ในระยะแรกที่หนอนฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ จะแทะกินอยู่ตาม ผิวเปลือกผลทุเรียนก่อนเมื่อโตขึ้นจึงจะเจาะกินเข้าไปภายใน ถ้าหาก เจาะกินเข้าไปจนถึงเนื้อทุเรียนจะทำให้เนื้อบริเวณที่หนอนเจาะนี้เน่า เมื่อผลสุก ภายนอก ผลทุเรียนจะเห็นมูลของหนอนได้อย่างชัดเจน และมีน้ำไหลเยิ้มเมื่อทุเรียนใกล้แก่จัด หนอนจะเข้าทำลายผลที่อยู่ติดกัน มากกว่าผลที่อยู่เดี่ยว ๆ เพราะหนอนที่เพิ่งจะฟัก จากไข่ชอบอาศัยอยู่ ที่รอยสัมผัสนี้ วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน
  5. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติไว้ควบคุมหนอนเจาะขั้วผลตามธรรมชาติ ได้แก่ มวนเพชฌฆาต มวนพิฆาต แมงมุม แมลงวันเบียน แตนเบียน
  6. ใช้หลอดแบล็คบลูไลท์ล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย ในกับดักแสงไฟครั้งแรก
  7. ตัดแต่งผลทุเรียนไม่ให้มีมากหรือติดกันเกินไป หรืออาจใช้ วัสดุ เช่น กาบมะพร้าว หรือเศษไม้กั้นระหว่างผลเพื่อป้องกันไม่ให้ ตัวเต็มวัยวางไข่ หรือตัวหนอนหลบอาศัยอยู่
  8. หลังตัดแต่งผลครั้งที่ 3 เมื่อตรวจพบผลถูกทำลาย ให้ฉีดพ่น สารเคมีเฉพาะต้น ที่ถูกทำลายชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังนี้
  • ไซฮาโลธริน แอล 2.5% อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
  • คาร์โบซัลแฟน 20%อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
  • คลอร์ไพริฟอส 40%อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
  1. ผลทุเรียนที่เน่าและร่วงควรเก็บทำลายโดยเผาไฟหรือฝังเสีย หนอนกินขั้วผล หนอนกินขั้วผลจะไชชอนและกินอยู่ที่บริเวณขั้วผล หรือต่ำกว่า ขั้วผลลงมาเล็กน้อย ถ้ามีหนอนเข้าทำลายมากจะทำให้ผลหลุดออกจาก ขั้วและร่วง พบเข้าทำลายในระยะผลอ่อน วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน
  2. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติไว้ควบคุมหนอนกินขั้วผลตามธรรมชาติ ได้แก่ มวนเพชฌฆาต มวนพิฆาต ต่อห้ำ แตนเบียน
  3. ใช้หลอดไฟแบล็คบลูไลท์ล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย
  4. หลังจากตัดแต่งผลครั้งที่ 3 แล้ว ตรวจพบผลทุเรียนถูก ทำลายจำนวนตั้งแต่ 4 ผลต่อต้นขึ้นไป ให้ฉีดพ่นสารเคมีเฉพาะต้น ที่ถูกทำลายโดยใช้ เมทธามิโดฟอส 60% อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โรครากเน่าและโคนเน่า เป็นโรคที่สำคัญสำหรับทุเรียน ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่ ชาวสวนทุเรียนอย่างมาก ต้นที่เริ่มเป็นโรคจะพบว่าใบไม่เป็นมันสดใส และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีดในที่สุด ใบร่วง เมื่อพบอาการแสดงออกที่ใบ ให้สำรวจโคนต้น กิ่งหรือรากบริเวณที่เป็นโรคจะมีสีของเปลือกเข้ม คล้ายถูกน้ำเป็นวงหรือเป็นทางไหลลงด้านล่าง หรือเป็นหยดน้ำตรง บริเวณแผลที่มีสีน้ำตาลปนแดง หรือมีรอยแตกของแผลและมีน้ำยาง ไหลออกมาในต้นที่เป็นโรครุนแรง ถ้าหากเป็นโรคที่ส่วนราก จะสังเกต เห็นใบมีอาการเหลืองซีด รากส่วนที่เน่ามีสีดำ เปื่อย และขาดง่าย เชื้อราไฟทอปโธรา สาเหตุของโรคสามารถแพร่กระจายโดยทาง ลม น้ำ ดิน ใบ กิ่งพันธุ์ และผล โดยเฉพาะในช่วง ฤดูฝนที่มีความชื้น สูง จะเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของโรคและการเข้าทำลายต้นทุเรียน วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน
  5. อนุรักษ์เชื้อราไตรโคเดอมาซึ่งเป็นเชื้อราพาราสิต หรือเป็น ศัตรูธรรมชาติ ของเชื้อรา ไฟทอปโธรา ในดินโดยการปรับปรุงดินให้เป็น กรดด่าง 6.5 ซึ่งเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ของเชื้อราไตรโคเดอมาเพื่อช่วย ควบคุมเชื้อราไฟทอปโธราในดินตามธรรมชาติ ใช้เชื้อราไตรโคเดอ มาจากการผลิตขยาย โดยการผสมเชื้อรากับรำ และปุ๋ยคอก อัตรา 1:25:25 ส่วน นำส่วนผสมนี้ไปรองก้นหลุมก่อน ปลูก อัตรา 1 กิโลกรัมต่อหลุม หรือนำไปโรยรอบ ๆ โคนต้นทุเรียน ที่โตแล้ว อัตรา 5 กิโลกรัมต่อต้น แล้วรดน้ำพอชุ่ม เพื่อช่วยควบคุม เชื้อราไฟทอปโธราในดิน
  6. วิธีเขตกรรม เมื่อพบอาการเริ่มแรกเพียงเล็กน้อย ให้ถาก เอาส่วนที่เป็นโรคออก แล้วทาแผลด้วยปูนแดง
  7. สารเคมี เมื่อพบอาการรุนแรง ให้ขูดผิวเปลือกบริเวณแผล ออก แล้วทาด้วยสารเคมี เมตาแลกซิล50% อัตรา 50-60 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ในกรณีที่พบอาการรุนแรงที่ส่วนราก หรือส่วนที่อยู่ตำแหน่งสูง ๆ ขึ้นไป ให้ใช้สารฟอสฟอรัสแอซิด อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำสะอาด 10 ซีซี ผสมใส่กระบอกฉีดยาแล้วนำไปฉีดเข้าในส่วนที่เป็นโรค เนื่องจากเชื้อราสาเหตุ ของโรครากเน่า โคนเน่า จะระบาดเมื่อดิน มีความชื้นสูง อากาศชื้นมีฝนตก จึงควรมีการป้องกันตั้งแต่เริ่มแรก เมื่อสร้างสวนทุเรียน โดยเลือกพื้นที่ปลูกที่ระบายน้ำได้ดี มีการตัดแต่ง กิ่งทุเรียนให้โปร่งอากาศ ถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องได้ทั่วถึง มีการ พูนดินที่โคนต้นทุเรียน ในลักษณะหลังเต่า เพื่อป้องกัน ไม่ให้น้ำขังแฉะ บริเวณโคนต้นทุเรียน โรคใบติด โรคใบติดเป็นโรคที่พบเห็นเสมอ และนับว่าเป็นโรคที่ค่อนข้าง ร้ายแรงโรคหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะไม่ถึงกับทำให้ต้นทุเรียนตายโดยตรงแต่ก็ เป็นโรคที่ทำให้ต้นทุเรียน ทรุดโทรมและเสียทรงต้นได้ ทำให้กิ่งใหญ่ แห้งตาย พบมากในแหล่งปลูกที่มีความชื้นสูง และต้นทุเรียนมีทรงพุ่ม แน่นทึบ ลักษณะอาการ เชื้อราเข้าทำลายใบอ่อนได้ดีในช่วงฤดูฝน ใบที่ถูกทำลายจะมีลักษณะเป็นจุดฉ่ำน้คล้ายน้ำร้อนลวกและจะเปลี่ยน เป็นสีน้ำตาลเมื่อใบแก่ ใบที่เป็นโรคนั้นจะหลุดร่วงห้อยติดอยู่โดยมี เส้นใยสีขาวนวลแผ่ปกคลุมคล้ายใยแมงมุม ถ้าใบที่เป็นโรคไปสัมผัสกับ ใบที่ปกติที่อยู่ใกล้เคียงก็จะทำให้เกิดเป็นโรคราตามไปด้วย วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน
    ตัดแต่งกิ่งทุเรียนให้พอเหมาะ อย่าให้ทึบหรือโปร่งเกินไป และ ในช่วงฤดูฝนในขณะที่ทุเรียนแตก ใบอ่อน ควรฉีดพ่นสารเคมี เช่น คาร์เบ็นดาซิม ไธอะเบนดาโซล หรือคอปเปอร์ ออกซีคลอไรด์ พ่นทุก 5-7 วันต่อครั้ง ส่วนเศษใบไม้ที่ร่วงหล่นอยู่บริเวณโคนต้น ควรจะ รวบรวมนำมาเผา ทำลายเสีย เพื่อลดการสะสมของเชื้อราและจะทำให้ การระบาดของโรคในปีต่อไปลดน้อยลง โรคผลเน่า เกิดจากเชื้อราไฟทอปโธรา เป็นเชื้อราชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิด โรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งในแหล่งที่มีการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่า จะมีโอกาสเกิดโรคผลเน่าได้มาก ลักษณะอาการ เชื้อราจะเข้าทำลาย ทั้งก่อนและหลังเก็บเกี่ยว โดยจะเห็นอาการเป็นจุดสีน้ำตาลจาง ๆ ปน เทาบนเปลือก แล้วขยายตัวลุกลามไปเป็นวงใหญ่ทำให้เปลือกแตกตาม รอยแตกของพูทุเรียน ผลที่ถูกทำลายในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว ถ้าเป็นมากจะร่วงหล่น ก่อนกำหนด สำหรับผลที่ได้รับเชื้อจากในแปลงปลูกและไปแสดงอาการ ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยว ก็จะมีอาการเช่นเดียวกัน แต่มักจะพบอาการ ผลเน่าจากบริเวณส่วนปลายของผล วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน
    ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันโรคผลเน่า เช่น โฟซีธิลอลูมิเนียม แคพ- ตาโฟลหรือเมตาแลกซิล ในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณ 1 เดือน และเพื่อเป็นการป้องกันโรคผลเน่า ที่จะเกิดภายหลัง การเก็บเกี่ยว ให้ เก็บเกี่ยวผลทุเรียนอย่างระมัดระวังและไม่ควรวางผลลงบนดินโดยตรง เพราะเชื้อโรคที่อยู่ในดินอาจติดไปกับหนามทุเรียนทำความเสียหายแก่ ทุเรียนในระหว่างการขนส่ง และรอการจำหน่ายได้ และถ้าสวนไหนมี การระบาดมาก ๆ ผลทุเรียนเน่าที่ร่วงหล่น อยู่ในสวน จะเป็นแหล่งสะสม โรค ทำให้เกิดการระบาดของโรคโคนเน่าต่อไป ดังนั้นจึงควรเก็บเผา ทำลายให้หมด โรคราแป้ง ที่ผลอ่อนจะมีผงสีขาว ๆ คล้ายแป้งติดอยู่ ถ้าเป็นมาก ๆ จะ เห็นเป็นสีขาวทั้งหมด ทำให้ผลหลุดร่วง สำหรับผลที่เป็นไม่มากนัก หรือเป็นเมื่อผลมีขนาดค่อนข้างโต เท่ากำปั้นผลอาจเจริญเติบโต ต่อไปได้ แต่ผิวเปลือกจะมีลักษณะด้าน ๆ ไม่สวย และมีหนามทู่ กว่าปกติ วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน
  • เก็บผลที่เป็นโรคที่ร่วงหล่นเผาทำลาย
  • ฉีดพ่นด้วยสารเคมีจำพวก ไดโนแคพ เบโนบิล หรือคาร์เบนดาซิม โรคจุดสนิม โรคนี้เกิดจากสาหร่ายซึ่งเป็นพืชชั้นต่ำชนิดหนึ่ง ทำความเสียหาย ในแหล่งปลูก ที่มีความชื้นสูง พบทั้งที่ใบและกิ่ง ที่ใบปรากฎอาการเป็น จุดหรือดวงสีเทาอ่อนปนเขียว ขนาด 0.3-1 เซนติเมตร แล้วจะเปลี่ยน เป็นสีน้ำตาลแดงคล้ายสนิม ทำให้ใบสังเคราะห์แสงได้น้อย แต่ถ้า สาหร่ายนี้เข้าทำลายตามกิ่งของทุเรียนจะเห็นลักษณะคล้ายกำมะหยี่ สีน้ำตาลแดงขึ้นเป็นหย่อม ๆ ตามกิ่งก้านของทุเรียน ต่อมาเปลือก ทุเรียนจะแห้งและแตก ทำให้ยอดหรือปลายกิ่งเหนือแผล จะชะงัก การเจริญเติบโต และทำให้กิ่งนั้นแห้งตายได้ วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน
    โรคนี้จะพบในฤดูฝน ซึ่งมีความชุ่มชื้นสูง และพบในสวนทุเรียน ที่ไม่เคยฉีดสารเคมีป้องกัน และกำจัดโรคทางใบเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น ในช่วงต้นฤดูฝน หรือในขณะที่เชื้อสาหร่ายอยู่ในช่วง เป็นขุยแดง ๆ ควร ฉีดพ่นสารเคมีป้องกัน เช่น คอปเปอร์ ออกซีคลอไรด์ โรคราสีชมพู โรคนี้พบมากในแหล่งปลูกที่มีความชื้นสูง และต้นทุเรียนมีทรงพุ่ม หนาทึบ จะพบอาการใบเหลืองร่วงเป็นหย่อม ๆ คล้ายกับอาการกิ่งแห้ง และใบร่วงที่เกิดจากโรคโคนเน่า แต่ถ้าสังเกตดูที่กิ่งทุเรียนจะเห็นลักษณะ คล้ายขุยสีชมพูปกคลุมอยู่ และทำให้เปลือกของกิ่งที่เป็นโรคปริแตก และล่อนจากเนื้อไม้ ถ้าเกิดรอบกิ่งจะทำให้กิ่งทุเรียนแห้งตายไปในที่สุด วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน
  • ถ้าเชื้อราเริ่มเข้าทำลายให้ถากบริเวณที่เชื้อเข้าทำลายออก เผาให้หมด แล้วทาแผล ด้วยสารพวกคอปเปอร์ ออกซีคลอไรด์หรือ ปูนแดง แต่ถ้ากิ่งถูกทำลาย ทั้งกิ่งให้ตัดทิ้ง แล้วนำมาเผาทำลาย และทารอยแผลที่ตัดด้วยสารพวกคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์หรือปูนแดง แล้วให้ฉีดพ่นตามกิ่งที่อยู่ใกล้เคียงด้วย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
  • ควรจะมีการตัดแต่งกิ่งหลังจากเก็บเกี่ยวทุกครั้ง เพื่อกำจัด กิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ทิ้ง ต้นทุเรียนจะโปร่งได้รับแสงแดดทั่วถึงและ อากาศถ่ายเทได้ดี ซึ่งจะช่วยลดการระบาย ของโรคได้อีกทางหนึ่ง

บทความจากกรมพัฒนาที่ดิน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *